แหล่งข้อมูลดีๆ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ที่ update ใหม่ทุกวัน
บทบาทหน้าที่ คปอ ตามกฎหมาย และสิ่งที่นายจ้างควรรู้

บทบาทหน้าที่ คปอ ตามกฎหมาย และสิ่งที่นายจ้างควรรู้

by Krin Jennings
31 views

การปฏิบัติงานในสถานประกอบการไม่เพียงแต่ต้องมีการจัดการเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังต้องมีการให้ความสำคัญกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ บริการ และสิ่งแวดล้อมโดยรวมขององค์กร

ในทางกฎหมายจึงมีการแต่งตั้งตำแหน่งการทำงานอย่าง ” คปอ. ย่อมาจาก คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ” คือกลุ่มคณะที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนานโยบายความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ของลูกจ้างในสถานประกอบการ เป็นกลุ่มตัวแทนจากผู้ที่มาจากหลายๆฝ่าย เพื่อให้เข้าถึงความปลอดภัยภายในองค์กรอย่างทั่วถึง

ใครบ้างที่จะมาเป็น คปอ

ใครบ้างที่จะมาเป็น คปอ

คปอ. จะได้จากการคัดเลือกทั้งจากฝั่งของลูกจ้างและนายจ้าง มีสัดส่วนแตกต่างกันไปตามจำนวนของ คปอ. ที่ต้องมี (โดยจำนวน คปอ. ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกจ้างภายในบริษัท)

ตำแหน่งภายใน คปอ มีอะไรบ้าง

    • ประธาน (ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร)
    • ผู้แทนนายจ้าง (ระดับบังคับบัญชา)
    • ผู้แทนลูกจ้าง
    • กรรมการและเลขานุการ (จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป. วิชาชีพ)

ซึ่งเมื่อทำการเลือกตั้ง และแต่งตั้งเสร็จแล้วยังไม่สามารถทำงานให้อย่างเต็มตัว โดยผู้ถูกเลือกทุกคนต้องผ่านการอบรม คปอ ตามศูนย์ฝึกอบรม ที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการฯ  ซึ่งต้องทำการประเมินให้ได้วุฒิบัตรเพื่อนำมาใช้ขึ้นทะเบียนก่อนจะสามารถทำงานในตำแหน่ง คปอ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

แนะนำศูนย์ฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาตเปิดสอน : Thaisafe พร้อมเปิดอบรมคปอ. และ จป. ทุกระดับ มีให้คุณเลือกทั้งแบบบุคคลทั่วไป และ อินเฮ้าส์ จองอบรมวันนี้ ลดทันที 40%

บทบาทหน้าที่การทำงานของ คปอ ตามกฎหมายกำหนด

บทบาทหน้าที่การทำงานของ คปอ ตามกฎหมายกำหนด

ตามข้อกำหนดของกฎหมาย กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดหน้าที่การทำงานของ คปอ ไว้ 12 ข้อดังนี้

1. จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม: ทำนโยบายกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการดูแลและปรับปรุงความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน นโยบายนี้ต้องเป็นที่ยอมรับทั้งในองค์กรและจากพนักงานทุกคน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายและมีการดูแลความปลอดภัยอย่างเหมาะสมในทุกๆ ด้านของการทำงาน จากนั้นจึงนำเสนอต่อนายจ้าง

2. จัดทำแนวทางการป้องกันและลดความเสี่ยง: คปอ ต้องทำการระบุและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน และนำเสนอมาตรการเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงนั้นๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาสุขภาพในที่ทำงาน

3. รายงานและเสนอแนะมาตรการ: หน้าที่สำคัญของคณะกรรมการความปลอดภัยฯในการทำงาน คือ การรายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการทำงานให้กับนายจ้าง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

4. ส่งเสริมกิจกรรมด้านความปลอดภัย: ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การแข่งขัน หรือการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงาน เพื่อเพิ่มความตระหนักและความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย

5. พิจารณาคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน : คปอ มีหน้าที่พิจารณาคู่มือหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมาย และมีการดูแลความปลอดภัยอย่างเหมาะสมในทุกด้านของการทำงานของลูกจ้างและบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือใช้บริการในสถานประกอบกิจการนั้น ๆ

6. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงานและรายงานผลการสำรวจ : ทำสำรวจการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน พร้อมรวบรวมสถิติอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน และรายงานผลการสำรวจนั้นในทุกครั้งที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตามความจำเป็นทันท่วงที

7. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรม: ทำการพิจารณาและนำเสนอโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่บุคลากรทุกระดับ เพื่อเสริมความเข้าใจและการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

8. จัดทำระบบให้ลูกจ้างทุกคนรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย: การจัดระบบที่ทำให้ลูกจ้างทุกคนมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อนายจ้าง เพื่อให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

9. ติดตามผลความคืบหน้า: ทำการติดตามผลการดำเนินงานที่เสนอต่อนายจ้าง ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนานโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

10. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี: รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีรวมทั้งระบุปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยเมื่อครบรอบหนึ่งปีเพื่อเสนอต่อนายจ้าง

11. ประเมินผลการดำเนินงาน: กระบวนการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เพื่อวิเคราะห์ผลความสำเร็จและพัฒนาการทำงานในอนาคต

12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ: การปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เช่น การพัฒนานโยบายใหม่ หรือการปรับปรุงข้อกำหนดและมาตรฐานต่าง ๆ

สิ่งควรรู้การทำงานของ คปอ

สิ่งควรรู้การทำงานของ คปอ

  • คปอ 1 รุ่นมีวาระการทำงานเพียง 2 ปี นั้นหมายความว่าเมื่อวุฒิบัตรของ คปอ ชุดเก่ากำลังครบกำหนดวันหมดอายุ (2 ปี) ก่อนหมดอายุบริษัทต้องมีการเลือก คปอ ชุดใหม่และส่งเข้าอบรม คปอ
  • คปอ ต้องมีการจัดประชุมเดือนละ 1 ครั้ง (กำหนดในกฎหมาย)
  • จป. วิชาชีพ หรือ จปเทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่เตรียมความพร้อมในการประชุม อย่าง เครื่องมือ พาวเวอร์พ้อย เตรียมข้อมูลวาระการประชุม
  • ก่อนจัดประชุมต้องแจ้งกำหนดและสาระการประชุมก่อน 3 วัน
  • หลังประชุมจบต้องทำรายงาน และติดประกาศ (หากมีการเปลี่ยนแปลง) ภายใน 7 วัน

สรุป

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน (คปอ.) เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญในองค์กรหรือสถานประกอบการที่มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายความปลอดภัยในที่ทำงาน มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งตามกฎหมาย ประกอบด้วยตัวแทนจากทั้งลูกจ้างและนายจ้าง เป็นตัวแทนที่มีความรับผิดชอบในการเพิ่มความตระหนักและปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทำงานที่ปลอดภัยและเหมาะสม การมีคณะกรรมการความปลอดภัยที่ดีสามารถช่วยลดอันตรายและปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

You may also like

แหล่งรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณจำเป็นต้องรู้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ติดต่อ

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by democracybuilders